วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

พรบ การใช้อินเตอเน็ตและผลกระทบต่อนิสิตนักศึกษษ


ความรู้เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์
“ระบบคอมพิวเตอร์” หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
“ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
“ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น
“ผู้ให้บริการ” หมายความว่า
(๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
(๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
“ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

สาเหตุหลักที่ต้องใช้พรบ.
เหตที่ต้องมี “พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พ.ศ.2550” เพราะว่าทุกวันนี้คอมพิวเตอร์ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีิวิตประจําวันของเรามากยิ้งขึ้นซึ่งมีการใช้งานคอมพิวเตอร์โดยมิชอบโดยบุคคลใดๆกตามที่ส่งผลเสียต่อบุคคลอื่นรวมไปถึงการใช้งานคอมพิวเตอร์ในการเผยแพรข้อมูลที่เป็นเท็จหรือมีลักษณะลามกอนาจาร จึงต้องมีมาตรการขึ้นมาเพื่อเป็นการควบคุมนั้นเอง

ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฐานความผิดและบทลงโทษสำหรับการกระทำโดยมิชอบ
มาตรา 5 การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์:
         ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่ มีมาตราการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 6 การล่วงรู้มาตราการป้องกันการเข้าถึง :
         ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึง ระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแต่ ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 7 การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ :
         ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 8 การดักข้อมูลโดยมิชอบ :
         ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการ ทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อ ประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 9 การแก้ไขเปลี่ยนแปลง ข้อมูลคอมพิวเตอร์ :
         ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น โดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 10 รบกวน ขัดขวาง ระบบคอมพิวเตอร์ :
         ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิ ชอบเพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวน จนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 11 สแปมเมล์ (Spam mail) :
         ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูล ดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา 12 การกระทำความผิดต่อ ประชาชนโดยทั่วไป / ความมั่นคง :
         ถ้าการกระทำ ความผิดตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10
         (1) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันที หรือในภายหลังและไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน สิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
         (2) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบ คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศความปลอดภัย สาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตาม (2) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
มาตรา 13 การจำหน่าย / เผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อใช้กระทำความผิด :
         ผู้ใดจำหน่ายหรือ เผยแพร่ชุดคำสั่ง ที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด ตามมาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 7 มาตรา 8 มาตรา 9 มาตรา 10 หรือมาตรา 11 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 14 นำ เข้า / ปลอม / เท็จ / ภัยมั่นคง / ลามก / ส่งต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ :
         ผู้ใด กระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ
         (1) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบาง ส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
         (2) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความ ตื่นตระหนกแก่ประชาชน
         (3) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการ ก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
         (4) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
         (5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4)
มาตรา 15 ความรับผิดของผู้ให้บริการ :
         ผู้ใดให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือ ยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 14 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา 14
มาตรา 16 การเผยแพร่ภาพ ตัดต่อ / ดัดแปลง :
         ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฎเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
         ถ้ากระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มี ความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อน ร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย ความผิดอื่นใดอาจไม่ได้รับโทษตาม พรบ. นี้เพียงอย่างเดียวต้องดูองค์ประกอบ และกฎหมายฉบับอื่นประกอบด้วยเช่น พรบ.ลิขสิทธิ , พรบ. ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์, ความผิดทางแพ่ง, อาญา


สิ่งที่ต้องทำหากกระทำความผิดผู้ใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ในฐานะบุคคลธรรมดาท่านไม่ควรทำในสิ่งต่อไปนี้ เพราะอาจจะเป็นหนทางที่ทำให้ท่าน "กระทำความผิด" ตาม พรบ.นี้
อย่าบอก password ของท่านแก่ผู้อื่น
อย่าให้ผู้อื่นยืมใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อเข้าเน็ต อย่าติดตั้งระบบเครือข่ายไร้สายในบ้านหรือที่ทำงานโดยไม่ใช้มาตรการการตรวจสอบผู้ใช้งานและการเข้ารหัสลับ อย่าเข้าสู่ระบบด้วย user ID และ password ที่ไม่ใช่ของท่านเอง อย่านำ user ID และ password ของผู้อื่นไปใช้งานหรือเผยแพร่ อย่าส่งต่อซึ่งภาพหรือข้อความ หรือภาพเคลื่อนไหวที่ผิดกฎหมาย อย่า กด "remember me" หรือ "remember password" ที่เครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะ และอย่า log-in เพื่อทำธุรกรรมทางการเงินที่เครื่องสาธารณะ ถ้าท่านไม่ใช่เซียนทาง computer security อย่าใช้ WiFi (Wireless LAN) ที่เปิดให้ใช้ฟรี โดยปราศจากการเข้ารหัสลับข้อมูล อย่าทำผิดตามมาตรา ๑๔ ถึง ๑๖ เสียเอง ไม่ว่าโดยบังเอิญ หรือโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ทำไมเราจึงควรปฏิบัติตามคำแนะนำข้างบนนี้? เชิญอ่านรายละเอียดเต็มๆ เกี่ยวกับสิ่งที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไม่ควรทำ เพื่อทราบเหตุผล และความผิดที่เกี่ยวข้อง

กรณีผู้ให้บริการ

ผู้ให้บริการ อาจจะเป็นท่าน หรือหน่วยงานของท่าน ผู้ให้บริการมีหน้าที่และสิ่งที่ต้องทำมากกว่าบุคคลทั่วไป สิ่งที่ท่านต้องเข้าใจ คือ
ผู้ให้บริการ นอกจากจะหมายถึง Internet Service Provider ทั่วไปแล้ว ยังหมายถึง ผู้ดูแลเว็บ และครอบคลุมถึงหน่วยงานที่มีการจัดบริการออนไลน์ บริการใช้อินเทอร์เน็ตและเครือข่ายทั่วไปในหน่วยงานของตนเองอีกด้วย เจ้าของร้านอินเทอร์เน็ต เจ้าของเว็บไซต์ รวมทั้งเจ้าของเว็บบอร์ด ล้วนแล้วเข้าข่ายที่จะเป็นผู้ให้บริการทั้งสิ้น หากท่านเปิดบริการให้สาธารณชน เข้ามาใช้บริการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต หรือสามารถแพร่ข้อความ ภาพ และเสียง ผ่านเว็บที่ท่านเป็นเจ้าของ ผู้ให้บริการตามกฎหมายนี้ ต้องทำตามหน้าที่ของ ผู้ให้บริการ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติฯนี้ กล่าวคือ "มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้ ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการนับตั้งแต่เริ่มใช้บริการ และต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง... ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฎิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท" เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำหน้าที่ของผู้ให้บริการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จะออกประกาศ เรื่องหลักเกณฑ์การเก็บรักษา Traffic data ของผู้ให้บริการ เพื่อให้ผู้ให้บริการทุกแบบ สามารถทำหน้าที่เก็บ logfile ของข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ได้ตรงตามความจำเป็นขั้นต่ำ ประกาศดังกล่าวนี้ ยังเป็นหนทางที่จะทำให้เกิดธุรกิจบริการรับฝากข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ขึ้นได้ เพราะจะมีผู้ให้บริการขนาดเล็กจำนวนมาก ที่ไม่สามารถทำตาม พรบ.นี้ได้ด้วยตนเอง

ผลกระทบต่นิสิตนักศึกษา

โลกอินเทอร์เน็ตที่มีเครือข่ายโยงใยกันทั่วทั้งโลก ย่อมเป็นสิ่งที่ควบคุมกันยากลำบากไม่ใช่เล่น ด้านดีทำให้เราเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้มากและง่ายยิ่งขึ้น แต่ในทางกลับกันนั้นคือ เมื่อสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปทุกวัน โดยมีการสื่อสารที่มอบความสะดวกและรวดเร็วให้มนุษย์ได้ใช้กันอย่างเสรีแล้ว ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นมาพร้อมๆ กับความเสรีนั้นอาจไม่ใช่เรื่องเล่นๆ อีกต่อไป ที่ถือเป็นการครอบงำเยาวชนและทำลายอารยธรรมของชาติ แม้ใครหลายคนยังมองว่าเป็นเรื่องสิทธิส่วนบุคคลก็ตาม หากสังคมยังคงปล่อยให้พฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้แทรกซึมอยู่ในสังคมไทย เยาวชนไทยจะมองว่าสิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นเรื่องปกติธรรมดา

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

opacและsearch engine

WebOPAC/OPAC

การให้บริการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ   Online Public Access Catalog ( OPAC)
      เป็นเครื่องมือสำหรับช่วยสืบค้นและแสดงรายละเอียด รายการทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด รวมถึงการแจ้งข้อมูลข่าวสารของห้องสมุดให้ผู้ใช้บริการได้รับทราบ

ข้อมูลเบื้องต้นของระบบห้องสมุดอัตโนมัติ  ความเป็นมาของระบบห้องสมุด
    ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST มีจุดกำเนิดมาจากแนวคิดในการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติขึ้นมา ใช้งานเองเพื่อทดแทนระบบห้องสมุดอัตโนมัติ DYNIX (Commercial Software) โดยในปีพ.ศ. 2541 ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ เวอร์ชัน 1.0ได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยใช้โปรแกรม Visual Basic 5.0/6.0 คู่กับระบบจัดการฐานข้อมูล ORACLE ปัจจุบันยังมีการใช้งานที่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี  ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ เวอร์ชัน 2.0 ได้พัฒนาขึ้นโดยใช้โปรแกรม Visual Studio .NET เวอร์ชัน 2002 คู่กับระบบจัดการฐานข้อมูล ORACLE ในเวอร์ชันนี้ได้เริ่มต้นใช้เทคโนโลยี Web Services และได้เปิดตัวการสืบค้น OPAC ผ่านทาง Web Browser ทำให้สามารถเพิ่มความหลากหลายในการให้บริการได้มากยิ่งขึ้น ปัจจุบันมีการใช้งานที่ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, วิทยาเขตตรัง และวิทยาเขตภูเก็ต
       ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ เวอร์ชัน 3.0เป็นเวอร์ชันที่ได้รับการสนับสนุนการพัฒนาจากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา โดยทางสกอ.ได้ก าหนดข้อบังคับการพัฒนา (TOR) เพื่อให้ได้ซอฟต์แวร์ระบบห้องสมุดที่มีมาตรฐานเทียบเท่ากับซอฟต์แวร์จากต่างประเทศ ปัจจุบันใช้งานที่ห้องสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี,มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์,มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และโรงพยาบาลหาดใหญ่ ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ เวอร์ชัน 4.0 เป็นเวอร์ชันที่อยู่ในระหว่างทดสอบการใช้งาน โดยจะปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เป็นระบบห้องสมุดสาขา และเพิ่มขีดความสามารถในด้านการสืบค้นผ่านโปรโตคอล Z39.50 และสนับสนุนการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล Union Catalog

Online Public Access Catalog ( OPAC ) ประกอบด้วย ฟังก์ชันการทำงานหลักดังนี้ 
- แสดงข้อมูลข่าวสารทั่วไปและช่องทางสื่อสารกับห้องสมุด

- สืบค้นรายการทรัพยากรสารสนเทศได้หลายรูปแบบ 
- แสดงข้อมูลรายละเอียดของสมาชิกห้องสมุด
- การต่ออายุการยืม ( Renew ) รายการสารสนเทศ
- การจอง ( Hold ) รายการสารสนเทศ
- การเสนอแนะรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศเพื่อให้ห้องสมุดจัดหา
- การส่งออก (Export) ข้อมูลบรรณานุกรมในรูปแบบต่าง ๆ 
- รายงานสถิติจำนวนทรัพยากรของห้องสมุดและสถิติการสืบค้นต่าง ๆ

การสืบค้นรายการทรัพยากรสารสนเทศ (Search)
ในการสืบค้นข้อมูลผ่านระบบ OPAC สามารถสืบค้นรายการทรัพยากรสารสนเทศแบ่งตามความซับซ้อนได้ 3 รูปแบบคือ                                        

การสืบค้นแบบ Basic search คือ การสืบค้นแบบทั่วไป ผู้ใช้สามารถสืบค้นได้ครั้งละ 1     เขตข้อมูล เช่น ค้นด้วยชื่อเรื่อง(Title) ค้นด้วยชื่อผู้แต่ง(Author) เป็นต้น
2 การสืบค้นแบบ Advanced คือ การสืบค้นแบบขั้นสูง ผู้ใช้สามารถสืบค้นได้พร้อมกันสูงสุดครั้งละสามเขตข้อมูล พร้อมทั้งใช้ตัวเชื่อมทางตรรกะ (AND,OR,NOT)  เช่น ค้นด้วยชื่อเรื่อง(Title)  พร้อมทั้งชื่อผู้แต่ง(Author)  เป็นต้น

3 การสืบค้นแบบ  Other Source เป็นการสืบค้นที่ผู้ใช้สามารถสืบค้นไปยังฐานข้อมูลของห้องสมุดอื่นซึ่งมีการติดตั้ง Z39.50 server  โดยอาศัยการส่งผ่านข้อมูลทางโปรโตคอล Z39.50
4 การสืบค้นโดยใช้ prefix ผู้ใช้สามารถใช้ prefix ที่ระบบได้ก าหนดไว้ โดยในการใช้งานจะระบุ prefix ไว้หน้าคำค้น เช่น ti=computer  หมายถึง ให้ไปสืบค้นค าว่า computer จากเขตข้อมูลชื่อเรื่อง(Title) เป็นต้น
การเข้าใช้งานระบบ (Login)   การเข้าสู่ระบบ มีขั้นตอนดังนี้ 
 <<การยืมต่อทรัพยากรสารสนเทศผ่านทาง OPAC   การจองทรัพยากรสารสนเทศผ่านทาง OPAC >>
 
1. คลิกที่เมนู
Login ด้านบน เพื่อเข้าสู่หน้าจอเข้าสู่ระบบ หรือเข้าไปที่หน้า Login.aspx 

2. ป้อนชื่อผู้ใช้ในช่อง “Username”
3. ป้อนรหัสผ่านในช่อง “Password” 

3. ป้อนรหัสผ่านในช่อง “Password”
 4. คลิกปุ่ม     "เข้าสู่ระบบ"        เพื่อเข้าสู่ระบบ

การสืบค้นแบบ Basic Search มีขั้นตอนดังนี้ 
1. ป้อนคำค้นในช่อง Search โดยการป้อนคำค้นสามารถป้อนได้ดังนี้
1.1 การป้อนคำค้นตามปกติ โปรแกรมสามารถสืบค้นได้จากทุกประเภทการสืบค้น
1.2 การป้อนคำค้นมากกว่า 1 คำ พร้อมด้วยตัวเชื่อม และเครื่องหมาย มีดังนี้ (ใช้สำหรับการสืบค้นประเภท Keyword เท่านั้น)
- AND  หรือช่องว่าง โปรแกรมจะแสดงรายการที่มีคำค้นภายในและอยู่ใน Field เดียวกัน
- OR โปรแกรมจะแสดงรายการที่มีคำค้นตัวใดตัวหนึ่งหรือทั้งคู่
- NOT  โปรแกรมจะแสดงรายการที่มีคำค้นตัวอื่น ๆ ยกเว้นคำค้นหลัง Keyword NOT
- “  ”  โปรแกรมจะแสดงรายการที่มีคำค้นอยู่ติดกันใน field เดียวกัน
-  (  )  ใช้ประกอบกับ Keyword อื่น ๆ เพื่อใช้สืบค้น 

 2. เลือกประเภทการสืบค้น  รูปแบบประเภทการสืบค้นมีให้เลือกดังนี้ 
- Title Keyword  สืบค้นชื่อเรื่อง ที่ปรากฏในตำแหน่งใด ๆ  ตรงกับคำค้น
- Title Alphabetic   สืบค้นชื่อเรื่อง โดยเรียงลำดับอักษร
- Author Keyword   สืบค้นชื่อผู้แต่งที่ปรากฏในตำแหน่งใด ๆ ตรงกับคคำค้น
- Author Alphabetic  สืบค้นชื่อผู้แต่งที่ปรากฏในตำแหน่งใด ๆ ตรงกับคคำค้น
- Subject Keyword   สืบค้นหัวเรื่องที่ปรากฏในตำแหน่งใด ๆ ตรงกับคคำค้น
- Subject Alphabetic   สืบค้นหัวเรื่องที่ปรากฏในตำแหน่งใด ๆ ตรงกับคคำค้น
- Series Keyword   สืบค้นชื่อชุดโดยเรียงลำดับอักษร  
- Series Alphabetic  สืบค้นชื่อชุดที่ปรากฏในต าแหน่งใด ๆ ตรงกับค าค้น
- Journal Title Keyword สืบค้นชื่อวารสารที่ปรากฏในต าแหน่งใด ๆ ตรงกับคำค้น
- Journal Title Alphabetic สืบค้นชื่อวารสารโดยเรียงล าดับอักษร
- LC Call Number   ค้นหาตามเลขเรียกของ Library of Congress
- Local Call Number       ค้นหาตามเลขเรียกของ ห้องสมุดที่ก าหนดขึ้นเอง
- Dewey Call Number    ค้นหาตามเลขเรียกของ Dewey Decimal Classification Number
- NLM Call Number         ค้นหาตามเลขเรียกของ National Library of Medicine Call          
Number
- Bib. Number   ค้นหาตามเลขอ้างอิงของ Bibliographic
- Barcode    สืบค้นข้อมูลที่ตรงกับหมายเลข Barcode ที่ระบุ
- ISBN    ค้นหาตามเลขมาตรฐาน International Standard Book Number
- ISSN    ค้นหาตามเลขมาตรฐาน International Standard Serial Number
- All Fields     ค้นหาโดยไม่ระบุประเภท





2 การสืบค้นแบบ Advanced คือ การสืบค้นแบบขั้นสูง ผู้ใช้สามารถสืบค้นได้พร้อมกันสูงสุดครั้งละสามเขตข้อมูล พร้อมทั้งใช้ตัวเชื่อมทางตรรกะ (AND,OR,NOT)  เช่น ค้นด้วยชื่อเรื่อง(Title)  พร้อมทั้งชื่อผู้แต่ง(Author)  เป็นต้น
การสืบค้นแบบ Advanced Search มีวิธีการสืบค้นเช่นเดียวกับแบบ Basic Search แต่สามารถป้อนค าค้นและเลือก Field ได้มากกว่า 1 ชุดในเวลาเดียวกัน (เลือกได้สูงสุด 3 ชุด), พร้อมกับสามารถ Limit Search ได้เช่นเดียวกัน  ขั้นตอนการสืบค้นแบบ Advanced Search มีดังนี้
1. เลือกประเภทการสืบค้น  วิธีการใช้งานเหมือนกับในส่วน Basic Search
2. ป้อนค าค้นพร้อมเครื่องหมาย  วิธีการใช้งานเหมือนกับใน Basic Search
3. เลือก Limit Search  วิธีการใช้งานเหมือนใน Basic Search
4. กรณีมีเงื่อนไขที่ต้องการค้นหาเพิ่มเติม ให้ป้อนตัวเชื่อมระหว่าง Field  ตัวเชื่อมที่มีให้เลือกคือ NOT, AND, OR (ก าหนดให้ AND เป็นตัวเชื่อมเริ่มต้น) โดยสามารถป้อนได้สูงสุด 2 ชุด
5. การสืบค้นข้อมูลและแสดงผลการสืบค้นจะแสดงผลลัพธ์ในการสืบค้นเช่นเดียวกับการสืบค้นแบบ Keyword


3 การสืบค้นแบบ  Other   Source เป็นการสืบค้นที่ผู้ใช้สามารถสืบค้นไปยังฐานข้อมูลของห้องสมุดอื่นซึ่งมีการติดตั้ง Z39.50 server  โดยอาศัยการส่งผ่านข้อมูลทางโปรโตคอล Z39.50
การสืบค้นแบบ Other Source มีวิธีการสืบค้นเช่นเดียวกับแบบ Advance Search  แต่สามารถเลือกได้ว่าต้องการสืบค้นไปยังฐานข้อมูลของห้องสมุดใดที่เปิดให้บริการ  ขั้นตอนการสืบค้นแบบ Other Source มีดังนี้
1. เลือกประเภทการสืบค้น  วิธีการใช้งานเหมือนกับในส่วน Basic Search และ Advance Search
2. ป้อนค าค้นพร้อมเครื่องหมาย  วิธีการใช้งานเหมือนกับใน Basic Search และ Advance Search
3.กรณีมีเงื่อนไขที่ต้องการค้นหาเพิ่มเติม ให้ป้อนตัวเชื่อมระหว่าง Field  ตัวเชื่อมที่มีให้เลือกคือ NOT, AND, OR (ก าหนดให้ AND เป็นตัวเชื่อมเริ่มต้น) โดยสามารถป้อนได้สูงสุด 2 ชุด
4. กรณีต้องการ Limit Search เลือก Limit Search  โดยมีวิธีการใช้งานเหมือนใน Basic Search และ Advance Search
5. เลือกใส่เครื่องหมายถูก   หน้าชื่อมหาวิทยาลัยที่ต้องการสืบค้นข้อมูล โดยสามารถเลือกได้มากกว่า 1 ฐานข้อมูล
6. กดปุ่ม Search เพื่อสืบค้นข้อมูล

4 การสืบค้นโดยใช้ prefix ผู้ใช้สามารถใช้ prefix ที่ระบบได้ก าหนดไว้ โดยในการใช้งานจะระบุ prefix ไว้หน้าค าค้น เช่น ti=computer  หมายถึง ให้ไปสืบค้นค าว่า computer จากเขตข้อมูลชื่อเรื่อง(Title) เป็นต้น
การสืบค้นแบบ Prefix เป็นการสืบค้นโดยที่ผู้ใช้ไม่จ าเป็นต้องเลือกประเภทการค้นจากตัวเลือกที่มีให้ แต่สามารถระบุเป็น prefix ไว้หน้าค าค้นได้เลย   Prefix ที่มีให้ใช้งาน ได้แก่
- au: เป็นการสืบค้นแบบ Author Alphabetic
- ti: เป็นการสืบค้นแบบ Title Alphabetic
- su: เป็นการสืบค้นแบบ Subject Alphabetic
- se: เป็นการสืบค้นแบบ Series Alphabetic
- dc: เป็นการสืบค้นแบบตาม Dewey Callno
- lc: เป็นการสืบค้นแบบตาม LC Callno
- nc: เป็นการสืบค้นตาม NLM Callno
- loc: เป็นการสืบค้นตาม Local Callno
- bn: เป็นการสืบค้นตาม ISBN
- sn: เป็นการสืบค้นตาม ISSN
- au= เป็นการสืบค้นแบบ Author Keyword
- ti= เป็นการสืบค้นแบบ Title Keyword
- su= เป็นการสืบค้นแบบ Subject Keyword
- se= เป็นการสืบค้นแบบ Series Keyword
- bib= เป็นการสืบค้นตามหมายเลขบรรณานุกรม
- all= เป็นการสืบค้นแบบ All Fields
ในการสืบค้นด้วย Prefix สามารถใช้ร่วมกับตัวด าเนินการทางตรรกะได้ (AND, OR, NOT)


search engine

เสิร์ชเอนจิน (search engine) คือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย. เสิร์ชเอนจินส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา ในปัจจุบัน เสิร์ชเอนจินบางตัว เช่น กูเกิล จะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ๆ ไป
สัดส่วนของผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกา (ข้อมูลจาก นิตยสารฟอรบส์ ฉบับวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2548)
1. กูเกิล (Google) 36.9%
2. ยาฮูเสิร์ช (Yahoo! Search) 30.4%
3. เอ็มเอสเอ็นเสิร์ช (MSN Search) 15.7%



นอกจากด้านบน เว็บอื่น ๆ ที่เป็นที่นิยมได้แก่
- เอโอแอล (AOL Search)
- อาส์ก (Ask)
- เอ 9 (A9)
- ไป่ตู้ (Baidu, 百度) เสิร์ชเอนจิน อันดับ 1 ของประเทศจีน

Search Engine คืออะไร


Google.com เป็น Search Engine ตัวหนึ่ง (หรือจะเรียก ที่หนึ่ง ก็ได้) ซึ่งหากเราเราจะเรียกแบบบ้าน ๆ ตามประสาคนท่องเว็บแล้ว Search Engine ก็คือ เครื่องมือในการค้นหาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตนั่นเอง นอกจาก Google แล้วยังมี Search Engine อีกหลาย ๆ ที่ ซึ่งดัง ๆ ที่เราพอจะคุ้นตาคุ้นหูอยู่บ้างก็อาทิเช่น Yahoo MSN เป็นต้น (ขอแนะนำที่ดัง ๆ เป็นพอ ไม่ดังไม่สน)
 ซึ่งในปัจจุบันหากให้เดาเพื่อน ๆ คงจะพอเดาถูกว่า Search Engine ที่ดังที่สุด (มีคนใช้เยอะสุด ๆ) ก็คือ Search Engine พระเอกที่ชื่อว่า Google.com นั่นเอง ซึ่งเป็น Search Engine ที่มีคนใช้เยอะมาก ๆ ทั้ง ๆ ที่มีให้บริการมาไม่กี่ปีนี่เอง เปิดบริการมาไม่นานก็แซงหน้าขาใหญ่เดิมอย่าง Yahoo ไปชนิดที่เรียกว่ามองแทบไม่เห็นฝุ่น ก็เพราะว่าด้วยรูปแบบที่ใช้งานง่าย และรวดเร็วนั่นเอง แถมเป็นภาษาไทยด้วย ยิ่งถูกใจคนไทยเป็นอย่างยิ่ง 

ซึ่งปรากฏการ google ฟรีเว่อร์นี้เอง ที่ทำให้คนส่วนหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็น Webmaster หันมาทำ SEO เจาะที่ Search Engine ที่มีชื่อว่า Google กันอย่างถล่มทะลาย

พูดไปเรื่องของ SEO แต่ล่ะที่ ที่ดัง ๆ ไปแล้ว เราก็มารู้เรื่องเกี่ยวกับประเภทของ Search Engine กันซักหน่อย ซึ่ง Search Engine ก็มีอยู่หลาย ๆ ประเภท ดังนี้

1. แบบอาศัยการเก็บข้อมูลเป็นหลัก (Crawler-Based Search Engine)
หลักการนี้เป็นการใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Crawler-Based Search Engine เป็นเครื่องมือที่ทำการบันทึกและเก็บข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งเป็นประเภท Search Engine ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน
ซึ่งการทำงานประเภทนี้ จะใช้โปรแกรมตัวเล็ก ๆ ที่เรียกว่า Web Crawler หรือ Spider หรือที่เรียกอีกอย่างว่า Search Engine Robots หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า บอท ในภาษาไทย www คือเครือข่ายใยแมงมุม ตัวโปรแกรมเล็ก ๆ ตัวนี้ก็คือแมงมุมนั่นเอง โดยเจ้าแมงมุมตัวนี้จะทำการไต่ไปยังเว็บไซต์ต่าง ๆ ทั่วโลกอินเตอร์เน็ต โดยอาศัยไต่ไปตาม URL ต่าง ๆ ที่มีการเชื่อมโยงอยู่ในแต่ละเพจ แล้วทำการ Spider กวาดข้อมูลที่จำเป็นต่าง ๆ (ขึ้นอยู่กะ Search Engine แต่ละที่ว่าต้องการเก็บรวบรวมข้อมูลอะไรบ้าง) แล้วเก็บลงฐานข้อมูล การใช้โปรแกรมกวาดข้อมูลแบบนี้ จึงทำให้ข้อมูลที่ได้มีความแม่นยำ และสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้เร็วมาก Search Engine ที่เป็นประเภทนี้ เช่น Google Yahoo MSN

2. แบบสารบัญเว็บไซต์ (Web Directory)Search Engine ที่เป็นแบบนี้มีอยู่หลายเว็บไซต์มาก ๆ ที่ดังที่สุดในเมืองไทย ที่เอ่ยออกไปใครใครคงต้องรู้จัก นั้นก็คือที่สารบัญเว็บของ Sanook.com ซึ่งหลาย ๆ คนคงเคยเข้าไปใช้บริการ หรืออย่างที่ Truehits.com เป็นต้น

ส่งที่เราจะสังเกตเห็นจาก Search Engine ประเภทนี้ก็คือ ลักษณะของการจัดเก็บข้อมูลที่แสดงให้เราเห็นทั้งหมด ว่ามีเว็บอะไรบ้างอยู่ในฐานข้อมูล ซึ่งแตกต่างจากประเภทแรก ที่หากคุณไม่ค้นหาโดยใช้คำค้น หรือ Keyword แล้ว คุณจะมีทางทราบเลยว่ามีเว็บไซต์อะไรอยู่บ้าง และมีเว็บอยู่เท่าไหร่

แบบสารบัญเว็บไซต์ จะแสดงข้อมูลที่รวบรวมเว็บไซต์ที่มีทั้งหมดในฐานข้อมูล และจะแบ่งเป็นหมวดหมู่ และอาจจะมีหมวดหมู่ย่อย ซึ่งผู้ค้นหาข้อมูลสามารถคลิกเข้าไปดูได้

หลักการทำงานแบบนี้ จะอาศัยการเพิ่มข้อมูลจากเจ้าของเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ต้องการประชาสัมพันธ์เว็บ หรืออาจใช้เจ้าหน้าที่ที่ดูแลส่วน Search Engine เป็นผู้หาข้อมูลเว็บไซต์มาเพิ่มในฐานข้อมูล ซึ่งข้อมูลในส่วนของสารบัญเว็บไซต์จะเน้นในด้านความถูกต้องของฐานข้อมูล ซึ่งข้อมูลเว็บไซต์ที่ถูกเพิ่มเข้ามาจะถูกตรวจสอบและแก้ไขจากผู้ดูแล


3. แบบอ้างอิงในคำสั่ง Meta Tag (Meta Search Engine )Search Engine ประเภทนี้จะอาศัยข้อมูลใน Meta tag (อยากรู้ดูในบทความหน้า) ซึ่งเป็นส่วนของข้อมูลที่อยู่ในแท็ก HEAD ของภาษา HTML ซึ่งข้อมูลในส่วนนี้ จะเป็นส่วนที่ให้ข้อมูลกับ Search Engine Robots

Search Engine ประเภทนี้ไม่มีฐานข้อมูลของตนเอง แต่จะอาศัยข้อมูลจาก Search Engine Index Server ของที่อื่น ๆ ซึ่งข้อมูลจะมาจาก Server หลาย ๆ ที่ ดังนั้น จึงมักได้ผลลัพธ์จากการค้นหาที่ไม่แม่นยำ



"จอน รัสเซลล์" สื่อมวลชนที่สนใจในเรื่องเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตในภูมิภาคเอเชีย ได้เผยแพร่บทความชื่อ "แม้ยอดการใช้อินเตอร์เน็ตเคลื่อนที่จะพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ยังไงประเทศไทยก็ยังคงไร้ 3 จี" (Mobile internet flourishing in Thailand, but still no 3G) ลงในเว็บไซต์ asiancorrespondent.com ซึ่งมีเนื้อหาโดยสรุปว่า แม้จำนวนการใช้อินเตอร์เน็ตเคลื่อนที่ (โมบาย อินเตอร์เน็ต) ในประเทศไทยจะเพิ่มสูงขึ้น แต่อัตราการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตในพื้นที่ชนบทและกึ่งชนบทกลับยังต่ำอยู่ ทั้งนี้ รัสเซลล์เห็นว่า การมีโครงข่ายอินเตอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงหรือ 3 จี จะช่วยทำให้ผู้คนในสังคมไทยเข้าถึงอินเตอร์ได้อย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น

รัสเซลล์เริ่มต้นบทความของเขาโดยอ้างรายงานการสำรวจล่าสุดว่า ธุรกิจโทรคมนาคมและอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงในประเทศไทยกำลังกำลังเติบโตและมีศักยภาพที่ดี แม้ว่าเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง (3 จี) ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้

ดังที่รายงานของบริษัทวิจัยการตลาด "นีลเส็น" ระบุว่า แม้ประเทศไทยจะยังไม่มีระบบอินเตอร์เน็ต 3 จีครอบคลุมทั่วประเทศ แต่ไทยก็เป็นหนึ่งในบรรดาประเทศของทวีปเอเชียที่มียอดผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเคลื่อนที่สูงที่สุด

"ประเทศไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ยังไม่มีเครือข่าย 3 จี" นายอารอน ครอส กรรมการผู้จัดการแผนกลูกค้าสัมพันธ์ของนีลเส็นประจำประเทศไทยตั้งข้อสังเกต "อย่างไรก็ดี  ผลพวงของการใช้เว็บไซต์โซเชียลมีเดียอย่างกว้างขวางในประเทศ ทำให้เทคโนโลยีการสื่อสารเคลื่อนที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ การมาถึงของสมาร์ทโฟนเช่น ไอโฟน หรือแบล็คเบอร์รี่ ก็ทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ง่ายขึ้น ทุกที่ ทุกเวลา และความพร้อมที่จะตอบรับเทคโนโลยีใหม่ๆของคนไทยแสดงให้เห็นศักยภาพของตลาดดังกล่าว แม้ว่าจะขาดผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเคลื่อนที่ความเร็วสูงในประเทศนี้ก็ตาม"

อย่างไรก็ตาม ข่าวร้ายที่เกิดขึ้นก็คือ ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีระดับการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตต่ำที่สุดในภูมิภาค โดยรายงานของนีลเส็นได้ให้ข้อมูลไว้ว่า

"ประเทศไทยเป็นหนึ่งในบรรดาประเทศที่มีระดับการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตที่ต่ำที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยพบว่าน้อยกว่า 1 ใน 3 ของประชากรไทยที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป (31 เปอร์เซ็นต์) มีโอกาสได้ใช้อินเตอร์เน็ต ซึ่งถือเป็นอัตราที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาค คือ 38 เปอร์เซ็นต์ อยู่ 7 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ คนไทยที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปยังมีอัตราการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตต่ำที่สุดในประเทศ  โดยมีจำนวนเพียงแค่ 7 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น"

รัสเซลล์ระบุต่อว่า ไม่เพียงแต่ราคาของอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจะอยู่สูงเกินเอื้อมสำหรับคนไทยจำนวนมาก แต่สัญญาการให้บริการระยะยาวซึ่งขัดแย้งกับวัฒนธรรมการชำระค่าบริการแบบชำระล่วงหน้า (พรีเพด) ที่คนไทยส่วนใหญ่คุ้นเคย รวมทั้งระบบโครงสร้างพื้นฐานนอกพื้นที่เมืองซึ่งมีคุณภาพย่ำแย่ ก็ถือเป็นอุปสรรคอีกอย่างหนึ่งในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตของคนชนบท และคนกึ่งชนบทในประเทศไทย

ผู้สื่อข่าวรายนี้ยังอ้างถึงรายงานของบริษัท "เดเวล็อปปิ้ง เทเลคอม" ที่ใช้ให้เห็นว่า ตลาดอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงในประเทศไทยกำลังเติบโต แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ยังไม่มีตัวเลขใดที่สามารถยืนยันการกล่าวอ้างของบริษัท "บิสสิเนซ มอนิเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล" (บีเอ็มไอ)  ที่ระบุว่า "จำนวนผู้สมัครสมาชิกอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงในช่วงปลายปี 2553 ของประเทศไทยนั้นมีจำนวนสูงเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้"

แต่ข้อมูลสำคัญ ที่รายงานของทั้งสองบริษัทระบุตรงกัน ก็คือ การใช้อินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือในประเทศไทยนั้นกำลังมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในขณะที่อินเตอร์เน็ตแบบใช้สาย (fixed-line) นั้นยังคงมีคุณภาพการให้บริการที่ต่ำกว่ามาตรฐานเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน

ขณะเดียวกัน แม้ว่าในระยะสั้น การไร้ซึ่งเครือข่าย 3 จีจะไม่ได้ทำให้ชาวเมืองผู้ร่ำรวยหยุดใช้อินเตอร์เน็ตไร้สายผ่านสมาร์ทโฟน แต่ในระยะยาว การไม่มีเครือข่าย 3 จีดังกล่าวจะส่งผลให้ศักยภาพในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตของผู้ที่อยู่นอกเขตเมืองถูกชะลอออกไป

รัสเซลล์สรุปบทความของเขาว่า เทคโนโลยีแบบก้าวกระโดดในประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้ทำให้ผู้คนเลิกใช้อินเตอร์เน็ตมีสายแบบเดิม เพราะว่าเทคโนโลยีใหม่นั้นนำเสนอตัวเลือกที่ดีและสะดวกกว่า ดังนั้น การมีเครือข่าย 3 จีก็จะมีส่วนช่วยทำให้คนไทยหลายคนก้าวข้ามการใช้อินเตอร์เน็ตแบบใช้สายไปสู่การใช้อินเตอร์เน็ตไร้สายหรืออินเตอร์เน็ตเคลื่อนที่ผ่านสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต โน้ตบุ๊ค หรือเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี

อย่างไรก็ตาม สำหรับในตอนนี้ วิสัยทัศน์ดังกล่าวยังคงเป็นเพียงแค่คำสัญญาที่ไม่ได้รับการเติมเต็ม
"จอน รัสเซลล์" สื่อมวลชนที่สนใจในเรื่องเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตในภูมิภาคเอเชีย ได้เผยแพร่บทความชื่อ "แม้ยอดการใช้อินเตอร์เน็ตเคลื่อนที่จะพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ยังไงประเทศไทยก็ยังคงไร้ 3 จี" (Mobile internet flourishing in Thailand, but still no 3G) ลงในเว็บไซต์ asiancorrespondent.com ซึ่งมีเนื้อหาโดยสรุปว่า แม้จำนวนการใช้อินเตอร์เน็ตเคลื่อนที่ (โมบาย อินเตอร์เน็ต) ในประเทศไทยจะเพิ่มสูงขึ้น แต่อัตราการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตในพื้นที่ชนบทและกึ่งชนบทกลับยังต่ำอยู่ ทั้งนี้ รัสเซลล์เห็นว่า การมีโครงข่ายอินเตอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงหรือ 3 จี จะช่วยทำให้ผู้คนในสังคมไทยเข้าถึงอินเตอร์ได้อย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น

รัสเซลล์เริ่มต้นบทความของเขาโดยอ้างรายงานการสำรวจล่าสุดว่า ธุรกิจโทรคมนาคมและอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงในประเทศไทยกำลังกำลังเติบโตและมีศักยภาพที่ดี แม้ว่าเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง (3 จี) ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้

ดังที่รายงานของบริษัทวิจัยการตลาด "นีลเส็น" ระบุว่า แม้ประเทศไทยจะยังไม่มีระบบอินเตอร์เน็ต 3 จีครอบคลุมทั่วประเทศ แต่ไทยก็เป็นหนึ่งในบรรดาประเทศของทวีปเอเชียที่มียอดผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเคลื่อนที่สูงที่สุด

"ประเทศไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ยังไม่มีเครือข่าย 3 จี" นายอารอน ครอส กรรมการผู้จัดการแผนกลูกค้าสัมพันธ์ของนีลเส็นประจำประเทศไทยตั้งข้อสังเกต "อย่างไรก็ดี  ผลพวงของการใช้เว็บไซต์โซเชียลมีเดียอย่างกว้างขวางในประเทศ ทำให้เทคโนโลยีการสื่อสารเคลื่อนที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ การมาถึงของสมาร์ทโฟนเช่น ไอโฟน หรือแบล็คเบอร์รี่ ก็ทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ง่ายขึ้น ทุกที่ ทุกเวลา และความพร้อมที่จะตอบรับเทคโนโลยีใหม่ๆของคนไทยแสดงให้เห็นศักยภาพของตลาดดังกล่าว แม้ว่าจะขาดผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเคลื่อนที่ความเร็วสูงในประเทศนี้ก็ตาม"

อย่างไรก็ตาม ข่าวร้ายที่เกิดขึ้นก็คือ ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีระดับการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตต่ำที่สุดในภูมิภาค โดยรายงานของนีลเส็นได้ให้ข้อมูลไว้ว่า

"ประเทศไทยเป็นหนึ่งในบรรดาประเทศที่มีระดับการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตที่ต่ำที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยพบว่าน้อยกว่า 1 ใน 3 ของประชากรไทยที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป (31 เปอร์เซ็นต์) มีโอกาสได้ใช้อินเตอร์เน็ต ซึ่งถือเป็นอัตราที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาค คือ 38 เปอร์เซ็นต์ อยู่ 7 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ คนไทยที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปยังมีอัตราการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตต่ำที่สุดในประเทศ  โดยมีจำนวนเพียงแค่ 7 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น"

รัสเซลล์ระบุต่อว่า ไม่เพียงแต่ราคาของอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจะอยู่สูงเกินเอื้อมสำหรับคนไทยจำนวนมาก แต่สัญญาการให้บริการระยะยาวซึ่งขัดแย้งกับวัฒนธรรมการชำระค่าบริการแบบชำระล่วงหน้า (พรีเพด) ที่คนไทยส่วนใหญ่คุ้นเคย รวมทั้งระบบโครงสร้างพื้นฐานนอกพื้นที่เมืองซึ่งมีคุณภาพย่ำแย่ ก็ถือเป็นอุปสรรคอีกอย่างหนึ่งในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตของคนชนบท และคนกึ่งชนบทในประเทศไทย

ผู้สื่อข่าวรายนี้ยังอ้างถึงรายงานของบริษัท "เดเวล็อปปิ้ง เทเลคอม" ที่ใช้ให้เห็นว่า ตลาดอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงในประเทศไทยกำลังเติบโต แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ยังไม่มีตัวเลขใดที่สามารถยืนยันการกล่าวอ้างของบริษัท "บิสสิเนซ มอนิเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล" (บีเอ็มไอ)  ที่ระบุว่า "จำนวนผู้สมัครสมาชิกอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงในช่วงปลายปี 2553 ของประเทศไทยนั้นมีจำนวนสูงเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้"

แต่ข้อมูลสำคัญ ที่รายงานของทั้งสองบริษัทระบุตรงกัน ก็คือ การใช้อินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือในประเทศไทยนั้นกำลังมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในขณะที่อินเตอร์เน็ตแบบใช้สาย (fixed-line) นั้นยังคงมีคุณภาพการให้บริการที่ต่ำกว่ามาตรฐานเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน

ขณะเดียวกัน แม้ว่าในระยะสั้น การไร้ซึ่งเครือข่าย 3 จีจะไม่ได้ทำให้ชาวเมืองผู้ร่ำรวยหยุดใช้อินเตอร์เน็ตไร้สายผ่านสมาร์ทโฟน แต่ในระยะยาว การไม่มีเครือข่าย 3 จีดังกล่าวจะส่งผลให้ศักยภาพในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตของผู้ที่อยู่นอกเขตเมืองถูกชะลอออกไป

รัสเซลล์สรุปบทความของเขาว่า เทคโนโลยีแบบก้าวกระโดดในประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้ทำให้ผู้คนเลิกใช้อินเตอร์เน็ตมีสายแบบเดิม เพราะว่าเทคโนโลยีใหม่นั้นนำเสนอตัวเลือกที่ดีและสะดวกกว่า ดังนั้น การมีเครือข่าย 3 จีก็จะมีส่วนช่วยทำให้คนไทยหลายคนก้าวข้ามการใช้อินเตอร์เน็ตแบบใช้สายไปสู่การใช้อินเตอร์เน็ตไร้สายหรืออินเตอร์เน็ตเคลื่อนที่ผ่านสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต โน้ตบุ๊ค หรือเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี

อย่างไรก็ตาม สำหรับในตอนนี้ วิสัยทัศน์ดังกล่าวยังคงเป็นเพียงแค่คำสัญญาที่ไม่ได้รับการเติมเต็ม


  Internet คือ การที่หลาย ๆ เครือข่ายเชื่อมต่อกันและทำงานเสมือนเป็นเครือข่ายอันเดียวกัน ในอดีตเมื่อเริ่มมีการนำเครื่อง คอมพิวเตอร์ หรือ PC มาใช้งานในเชิงธุรกิจในยุกแรกนั้น ๆ เนื่องจากมีการพัฒนา Application ทางธุรกิจให้เลือกใช้งานมากมาย ก็ทำให้จำนวนการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ได้ถูกเชื่อมโยงกัน ทำให้ ผู้ใช้พบปัญหาต่าง ๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์บางเครื่องไม่ได้ต่อเครื่องพิมพ์ไว้เวลาจะพิมพ์งานก็จะเอาข้อมูลนั้นไปพิมพ์ที่เครื่องอื่น ทำให้ไม่สะดวกและยุ่งยาก ยิ่งเมื่อองค์กรธุรกิจนั้นขยายตัวมากก็ทำให้ปัญหาการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แบบเครื่องเดี่ยวโดด ๆ (Stand alone )กลายเป็นความไม่สะดวกเท่าที่ควร ทางแก้ไขคือ การติดตั้งระบบเครือข่าย Lan เพื่อเชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้สามารถใช้งานร่วมกันได้ เครือข่าย LAN ช่วยทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานข้อมูลร่วมกันกับหน่วยงานอื่น ๆ ได้หรือ สามารถส่งผ่านข้อมูลไปมาระหว่างหน่วยงานได้อย่างราบรื่น รวมถึงการใช้งานเครื่องพิมพ์ธรรมดา ๆ ก็ถูกแทนที่ด้วยเครื่องพิมพ์เลเซอร์ความเร็วสูงเพื่อใช้งานกันในหน่วยงานต่าง ๆ
        อินเทอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Inter Connection Network หมายถึง เครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกัน ลักษณะของระบบอินเทอร์เน็ต เป็นเสมือนใยแมงมุม ที่ครอบคลุมทั่วโลก ในแต่ละจุดที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้น สามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทาง โดยไม่กำหนดตายตัว และไม่จำเป็นต้องไปตามเส้นทางโดยตรง อาจจะผ่านจุดอื่น ๆ หรือ เลือกไปเส้นทางอื่นได้หลาย ๆ เส้นทาง ดังรูป
ภาพ:วัน.jpg
        อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน ถูกพัฒนามาจากโครงการวิจัยทางการทหารของกระทรวงกลาโหมของประเทศ สหรัฐอเมริกา คือAdvanced Research Projects Agency (ARPA) ในปี 1969 โครงการนี้เป็นการวิจัยเครือข่ายเพื่อการสื่อสารของการทหารในกองทัพอเมริกา หรืออาจเรียกสั้นๆ ได้ว่า ARPA Net ในปี ค.ศ. 1970 ARPA Net ได้มีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้นโดยการเชื่อมโยงเครือข่ายร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของอเมริกา คือ มหาวิทยาลัยยูทาห์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาบารา มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส และสถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และหลังจากนั้นเป็นต้นมาก็มีการใช้ อินเทอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น
        สำหรับในประเทศไทย อินเทอร์เน็ตเริ่มมีการใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2530 ที่มหาวิยาลัยสงขลานครินทร์ โดยได้รับความช่วยเหลือจากโครงการ IDP (The International Development Plan) เพื่อให้มหาวิทยาลัยสามารถติต่อสื่อสารทางอีเมลกับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นในออสเตรเลียได้ ได้มีการติดตั้งระบบอีเมลขึ้นครั้งแรก โดยผ่านระบบโทรศัพท์ ความเร็วของโมเด็มที่ใช้ในขณะนั้นมีความเร็ว 2,400 บิต/วินาที จนกระทั่งวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2531 ได้มีการส่งอีเมลฉบับแรกที่ติดต่อระหว่างประเทศไทยกับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จึงเปรียบเสมือนประตูทางผ่าน (Gateway) ของไทยที่เชื่อมต่อไปยังออสเตรเลียในขณะนั้น
        ในปี พ.ศ. 2533 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของสถาบันการศึกษาของรัฐ โดยมีชื่อว่า เครือข่ายไทยสาร (Thai Social/Scientific Academic and Research Network : ThaiSARN) ประกอบด้วย มหาวิยาลัยสงขลานครินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตภายในประเทศ เพื่อการศึกษาและวิจัย
        ในปี พ.ศ. 2538 ได้มีการบริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ขึ้น เพื่อให้บริการแก่ประชาชน และภาคเอกชนต่างๆ ที่ต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยมีบริษัทอินเทอร์เน็ตไทยแลนด์ (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider: ISP) เป็นบริษัทแรก เมื่อมีคนนิยมใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตจึงได้ก่อตั้งเพิ่มขึ้นอีกมากมาย

[แก้ไข] ระบบอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย

        ช่องสัญญาณการเชื่อมต่อภายในประเทศ
        ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสามารถเลือกเช่าช่องสัญญาณได้โดยเสรี ทั้งจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) การสื่อสารแห่งประเทศไทย หรือ กสท. (Communication Authority of Thailand: CAT) เทเลคอมเอเชีย (TelecomAsia) และ ดาต้าเน็ต (DataNet) โดยวงจรของทุกราย จะเชื่อมต่อกับจุดแลกเปลี่ยนสัญญาณภายในประเทศ เพื่อความรวดเร็วในการแลกเปลี่ยนข้อมูล นั่นคือ การติดต่อสื่อสารระหว่างคู่สื่อสารในประเทศไทย สามารถทำได้สะดวก ไม่ว่าคู่สื่อสารนั้น จะใช้บริการของ ISP รายใดก็ตาม ทั้งนี้จุดแลกเปลี่ยนในปัจจุบันได้แก่ IIR (Internet Information Research) ของเนคเทคและ NIX (National Internet Exchange) ของ การสื่อสารแห่งประเทศไทย
        ช่องสัญญาณการเชื่อมต่อระหว่างประเทศ
        การให้บริการอินเทอร์เน็ตจะต้องผ่านการสื่อสารแห่งประเทศไทยเท่านั้น เนื่องจากกฎหมายปัจจุบันยังไม่อนุญาตให้ทำการส่งข้อมูล เข้า-ออก ของประเทศไทยโดยปราศจากการควบคุมของ กสท. โดย ISP จะเชื่อมสัญญาณเข้ากับ IIG (International Internet Gateway)

[แก้ไข] การทำงานของอินเทอร์เน็ต

        การสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์จะมีโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งเป็นระเบียบวิธีการสื่อสารที่เป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อกำหนดไว้ โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
        เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่อง ที่เรียกว่า IP Address เพื่อเอาไว้อ้างอิงหรือติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย ซึ่ง IP ในที่นี้ก็คือ Internet Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง IP address ถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต ใน 1 ชุดนี้จะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละส่วนด้วยจุด (.) ดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ไม่เกิน 256 คือ ตั้งแต่ 0 จนถึง 255 เท่านั้น เช่น IP address ของเครื่องคอมพิวเตอร์ของสถาบันราชภัฎสวนดุสิต คือ 203.183.233.6 ซึ่ง IP Address ชุดนี้จะใช้เป็นที่อยู่เพื่อติดต่อกับเครื่องพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย

[แก้ไข] โดเมนเนม (Domain name system :DNS)

        เนื่องจากการติดต่อสื่อสารกันกันในระบบอินเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP เพื่อสื่อสารกัน โดยจะต้องมี IP address ในการอ้างอิงเสมอ แต่ IP address นี้ถึงแม้จะจัดแบ่งเป็นส่วนๆ แล้วก็ยังมีอุปสรรคในการที่ต้องจดจำ ถ้าเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายมีจำนวนมากขึ้น การจดจำหมายเลข IP ดูจะเป็นเรื่องยาก และอาจสับสนจำผิดได้ แนวทางแก้ปัญหาคือการตั้งชื่อหรือตัวอักษรขึ้นมาแทนที่ IP address ซึ่งสะดวกในการจดจำมากกว่า เช่น IP address คือ 203.183.233.6 แทนที่ด้วยชื่อ dusit.ac.th ผู้ใช้งานสามารถ จดจำชื่อ dusit.ac.th ได้ง่ายกว่า การจำตัวเลขโดเมนที่ได้รับความนิยมกันทั่วโลก ที่ถือว่าเป็นโดเมนสากล มีดังนี้ คือ
        .com ย่อมาจาก commercial สำหรับธุรกิจ
        .edu ย่อมาจาก education สำหรับการศึกษา
        .int ย่อมาจาก International Organization สำหรับองค์กรนานาชาติ
        .org ย่อมาจาก Organization สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
        .net ย่อมาจาก Network สำหรับหน่วยงานที่มีเครือข่ายของ ตนเองและทำธุรกิจด้านเครือข่าย

[แก้ไข] การขอจดทะเบียนโดเมน

        การขอจดทะเบียนโดเมนต้องเข้าไปจะทะเบียนกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ ชื่อโดเมนที่ขอจดนั้นไม่สามารถซ้ำกับชื่อที่มีอยู่เดิม เราสามารถตรวจสอบได้ว่ามีชื่อโดเมนนั้นๆ หรือยังได้จากหน่วยงานที่เราจะเข้าไปจดทะเบียน
        การขอจดทะเบียนโดเมน มี 2 วิธี ด้วยกัน คือ
        1. การขอจดะเบียนให้เป็นโดเมนสากล (.com .edu .int .org .net ) ต้องขอจดทะเบียนกับ www.networksolution.com ซึ่งเดิม คือ www.internic.net เช่น www.kapook.com
        2. การขอทดทะเบียนที่ลงท้ายด้วย .th (Thailand)ต้องจดทะเบียนกับ www.thnic.net
        โดเมนเนมที่ลงท้าย ด้วย .th ประกอบด้วย
        .ac.th ย่อมาจาก Academic Thailand สำหรับสถานศึกษาในประเทศไทย
        .co.th ย่อมาจาก Company Thailand สำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจในประเทศไทย
        .go.th ย่อมาจาก Government Thailand สำหรับหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาล
        .net.th ย่อมาจาก Network Thailand สำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจด้านเครือข่าย
        .or.th ย่อมาจาก Organization Thailand สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
        .in.th ย่อมาจาก Individual Thailand สำหรับของบุคคลทั่วๆ ไป

[แก้ไข] การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบใช้สาย (Wire Internet)

        1. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตรายบุคคล (Individual Connection)
        การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตรายบุคคล คือ การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากที่บ้าน (Home user) ซึ่งยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตก่อน จากนั้นจะได้เบอร์โทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต รหัสผู้ใช้ (User name) และรหัสผ่าน (Password) ผู้ใช้จะเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยใช้โมเด็มที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้หมุนไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต จากนั้นจึงสามารถใช้ งานอินเทอร์เน็ตได้ ดังรูป
ภาพ:แผ.jpg

        องค์ประกอบของการใช้อินเทอร์เน็ตรายบุคคล
        1.โทรศัพท์
        2.เครื่องคอมพิวเตอร์
        3.ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะให้เบอร์โทรศัพท์ รหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน
        4.โมเด็ม (Modem)
        โมเด็ม คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณ เนื่องจากสัญญาณในคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณดิจิทัล (Digital) แต่สัญญาณเสียงในระบบโทรศัพท์เป็นสัญญาณอนาล็อก (Analog) ดังนั้นเมื่อต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตจึงต้องใช้โมเด็มเพื่อเป็นอุปกรณ์ในการแปลงสัญญาณดิจิทัลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อกตามสายโทรศัพท์ และแปลงกลับจากสัญญาณอนาล็อกเป็นสัญญาณดิจิทัล เมื่อถึงปลายทาง
        ความเร็วของโมเด็มมีหน่วยเป็น บิตต่อวินาที (bit per second : bps) หมายความว่า ในหนึ่งวินาที จะมีข้อมูลถูกส่งออกไป หรือรับเข้ามากี่บิต เช่น โมเด็มที่มีความเร็ว 56 Kpbs จะสามารถ รับ-ส่งข้อมูลได้ 56 กิโลบิตในหนึ่งวินาที
        โมเด็มสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท คือ
        1.โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก (External modem)
        เป็นโมเด็มที่ติดตั้งกับคอมพิวเตอร์ภายนอก สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก เพราะในปัจจุบันการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์จะผ่าน USB พอร์ต (Universal Serial Bus) ซึ่งเป็นพอร์ตที่นิยมใช้กันมาก ราคาของโมเด็มภายนอกไม่สูงมากนัก แต่จะยังมีราคาสูงกว่าโมเด็มแบบติดตั้งภายใน รูปที่ 6.3 แสดงโมเด็มภายนอก
ภาพ:c6_3.jpg

        2.โมเด็มแบบติดตั้งภายใน (Internal modem)
        เป็นโมเด็มที่เป็นการ์ดคอมพิวเตอร์ที่ต้องติดตั้งเข้าไปกับแผงวงจรหลักหรือเมนบอร์ด (main board) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็มประเภทนี้จะมีราคาถูกว่าโมเด็มแบบติดตั้งภายนอก เวลาติดตั้งต้องอาศัยความชำนาญในการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ และติดตั้งไปกับแผงวงจรหลัก

ภาพ:c6_4.jpg
        3.โมเด็มสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (Note Book Computer) อาจเรียกสั้นๆว่า PCMCIA modem

ภาพ:c6_5.jpg
        2.การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบองค์กร (Corporate Connection)
        การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบองค์กรนี้จะพบได้ทั่วไปตามหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน หน่วยงานต่างๆ เหล่านี้จะมีเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN) เป็นของตัวเอง ซึ่งเครือข่าย LAN นี้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา ผ่านสายเช่า (Leased line) ดังนั้น บุคลากรในหน่วยงานจึงสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านระบบ LAN ไม่มีการสร้างการเชื่อมต่อ (Connection) เหมือนผู้ใช้รายบุคคลที่ยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ภาพ:c6_6.jpg

[แก้ไข] การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wireless Internet)

        1.การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านเครื่องโทรศัพท์บ้านเคลื่อนที่ PCT
        เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (Note book) และคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Pocket PC) ผู้ใช้จะต้องมี โมเด็ม ชนิด PCMCIA ของ PCT ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถใช้อินเทอร์เน็ตไร้ได้ ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลได้
        2.การใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือโดยตรง (Mobile Internet)
        1.WAP (Wireless Application Protocol) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานของอุปกรณ์ไร้สายที่ใช้งานบนอินเทอร์เน็ต ใช้ภาษา WML (Wireless Markup Language) ในการพัฒนาขึ้นมา แทนการใช้ภาษา HTML (Hypertext markup Language) ที่พบใน www โทรศัพท์มือถือปัจจุบัน หลายๆยี่ห้อ จะสนับสนุนการใช้ WAP เพื่อท่องอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 9.6 kbps และการใช้ WAP ท่องอินเทอร์เน็ตนั้น จะมีการคิดอัตราค่าบริการเป็นนาทีซึ่งยังมีราคาแพง
        2.GPRS (General Packet Radio Service) เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้โทรศัพท์มือถือสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง และสามารถส่งข้อมูลได้ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ภาพกราฟิก เสียง และวีดิโอ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลด้วยโทรศัพท์ที่สนับสนุน GPRS อยู่ที่ 40 kbps ซึ่งใกล้เคียงกับโมเด็มมาตรฐานซึ่งมีความเร็ว 56 kbps อัตราค่าใช้บริการคิดตามปริมาณข้อมูลที่รับ-ส่ง ตามจริง ดังนั้นจึงทำให้ประหยัดกว่าการใช้ WAP และยังสื่อสารได้รวดเร็วขึ้นด้วย
        3.โทรศัพท์ระบบ CDMA (Code Division Multiple Access) ระบบ CDMA นั้น สามารถรองรับการสื่อสารไร้สายความเร็วสูงได้เป็นอย่างดี โดยสามารถทำการรับส่งข้อมูลได้สูงสุด 153 Kbps ซึ่งมากกว่าโมเด็มที่ใช้กับโทรศัพท์ตามบ้านที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เพียง 56 kbps นอกจากนี้ ระบบ CDMA ยังสนับสนุนการส่งข้อมูลระบบมัลติมีเดียได้ด้วย
        4.เทคโนโลยี บลูทูธ (Bluetooth Technology) เทคโนโลยีบลูทูธ ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับการสื่อสารแบบไร้สาย โดยใช้หลักการการส่งคลื่นวิทยุ ที่อยู่ในย่านความถี่ระหว่าง 2.4 - 2.4 GHz ในปัจจุบันนี้ได้มีการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้เทคโนโลยีไร้สายบลูธูทเพื่อใช้ใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆชนิด เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์พ็อคเก็ตพีซี
        3.การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยโน้ตบุ๊ก(Note book) และ เครื่องปาล์ม (Palm) ผ่าน โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุนระบบ GPRS
        โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุน GPRS จะทำหน้าที่เสมือนเป็นโมเด็มให้กับอุปกรณ์ที่นำมาพ่วงต่อ ไม่ว่าจะเป็น Note Book หรือ Palm และในปัจจุบันบริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้มีการผลิต SIM card ที่เป็น Internet SIM สำหรับโทรศัพท์มือถือเพื่อให้สามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น

[แก้ไข] อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง

        1.บริการอินเทอร์เน็ตผ่าน ISDN (Integrated Service Digital Network)
        เป็นการเชื่อมต่อสายโทรศัพท์ระบบใหม่ที่รับส่งสัญญาณเป็นดิจิทัลทั้งหมด อุปกรณ์และชุมสายโทรศัพท์จะเป็นอุปกรณ์ที่สนับสนุนระบบของ ISDN โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องโทรศัพท์ และโมเด็มสำหรับ ISDN
        องค์ประกอบของการต่ออินเทอร์เน็ตด้วยระบบโทรศัพท์ ISDN
        1.Network Terminal (NT) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ต่อจากชุมสาย ISDN เข้ากับอุปกรณ์ดิจิทัลของ ISDN โดยเฉพาะ เช่น เครื่องโทรศัพท์ดิจิทัล เครื่องแฟกซ์ดิจิทัล
        2.Terminal adapter (TA) เป็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณเพื่อใช้ต่อ NT เข้ากับอุปกรณ์ที่ใช้กับโทรศัพท์บ้านระบบเดิม และทำหน้าที่เป็น ISDN modem ที่ความเร็ว 64-128 Kbps
        3.ISDN card เป็นการ์ดที่ต้องเสียบในแผงวงจรหลักในคอมพิวเตอร์เพื่อต่อกับ NTโดยตรง ในกรณีที่ไม่ใช้ Terminal adapter
        4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านคู่สาย ISDN (ISDN ISP) เช่น KSC, Internet Thailand, Lox Info, JI-Net ฯลฯ ซึ่งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเหล่านี้จะทำการเช่าคู่สาย ISDN กับองค์การโทรศัพท์ (บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด มหาชน )
        2. บริการอินเทอร์เน็ตผ่านเคเบิลโมเด็ม (Cable Modem)
        เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูงโดยไม่ใช้สายโทรศัพท์ แต่อาศัยเครือข่ายของผู้ให้บริการเคเบิลทีวี ความเร็วของการใช้เคเบิลโมเด็มในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจะทำให้ความเร็วสูงถึง 2/10 Mbps นั้น คือ ความเร็วในการอัพโหลด ที่ 2 Mbps และความเร็วในการ ดาวน์โหลด ที่ 10 Mbps แต่ปัจจุบันยังเปิดให้บริการอยู่ที่ 64/256 Kbps
        องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยเคเบิลโมเด็ม
        1. ต้องมีการเดินสายเคเบิลจากผู้ให้บริการเคเบิล มาถึงบ้าน ซึ่งเป็นสายโคแอกเชียล (Coaxial )
        2. ตัวแยกสัญญาณ (Splitter) ทำหน้าที่แยกสัญญาณคอมพิวเตอร์ผ่านเคเบิลโมเด็ม
        3. Cable modem ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ
        4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านเคเบิลโมเด็ม ในปัจจุบัน มีเพียงบริษัทเดียว คือ บริษัทเอเชียมัลติมีเดีย ในเครือเดียวกับบริษัทเทเลคอมเอเชีย ผู้ให้บริการ Asia Net

        3. บริการอินเทอร์เน็ตผ่านระบบโทรศัพท์ ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Loop)
        ADSL เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสายโทรศัพท์แบบเดิม แต่ใช้การส่งด้วยความถี่สูงกว่าระบบโทรศัพท์แบบเดิม ชุมสายโทรศัพท์ที่ให้บริการหมายเลข ADSL จะมีการติดตั้งอุปกรณ์ คือ DSL Access Module เพื่อทำการแยกสัญญาณความถี่สูงนี้ออกจากระบบโทรศัพท์เดิม และลัดเข้าเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยตรง ส่วนผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตจะต้องมี ADSL Modem ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน ADSL จะมีความเร็วที่ 64/128 Kbps (อัพโหลด ที่ 64 Kbps และ ดาวน์โหลด ที่ 128 Kbps) และที่ 128/256 Kbps (อัพโหลด ที่ 128 Kbps และ ดาวน์โหลด ที่ 256 Kbps) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้บริการ
        องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วย ADSL
        1. ADSL modem ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณ
        2. Splitter ทำหน้าที่แยกสัญญาณความถี่สูงของ ADSL จากสัญญาณโทรศัพท์แบบธรรมดา
        3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่าน ADSL ประกอบด้วย Asia Net, Loxinfo, KSC, CS Internet, Anet, Samart, JI-Net
        4. บริการอินเตอร์เนตผ่านดาวเทียม (Satellite Internet)
        เป็นบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันใช้การส่งผ่านดาวเทียมแบบทางเดียว (One way) คือ จะมีการส่งสัญญาณมายังผู้ใช้ (download) ด้วยความเร็วสูงในระดับเมกะบิตต่อวินาที แต่การส่งสัญญาณกลับไปหรือการอัพโหลด จะทำได้โดยผ่านโทรศัพท์แบบธรรมดา ซึ่งจะได้ความเร็วที่ 56 Kbps การใช้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมอาจได้รับการรบกวนจากสภาพอากาศได้ง่าย
        องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยดาวเทียม
        1. จานดาวเทียมขนาดเล็ก
        2. อุปกรณ์รับสัญญาณจากดาวเทียมเพื่อแปลงเข้าสู่คอมพิวเตอร์
        3. โมเด็มธรรมดา พร้อมสายโทรศัพท์ 1 คู่สาย เพื่อส่งสัญญาณกลับ (Upload)
        4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม ในปัจจุบันมีเพียงรายเดียว คือ CS Internet ในเครื่อชินคอร์ปอเรชั่น

[แก้ไข] บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต

        1. เวิลด์ไวด์เว็บ (WWW) เวิลด์ไวด์เว็บ หรือเครือข่ายใยแมงมุม เหตุที่เรียกชื่อนี้เพราะว่าเป็นลักษณะของการเชื่อมโยงข้อมูล จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเรื่อยๆ เวิลด์ไวด์เว็บ เป็นบริการที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ในการเรียกดูเว็บไซต์ต้องอาศัยโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) ในการดูข้อมูล เว็บเบราว์เซอร์ที่ได้รับความนิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น โปรแกรม Internet Explorer (IE) , Netscape Navigator
        2. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) การติดต่อสื่อสารโดยใช้อีเมลสามารถทำได้โดยสะดวก และประหยัดเวลา หลักการทำงานของอีเมลก็คล้ายกับการส่งจดหมายธรรมดา นั้นคือ จะต้องมีที่อยู่ที่ระบุชัดเจน ก็คือ อีเมลแอดเดรส (E-mail address)
        องค์ประกอบของ e-mail address ประกอบด้วย
        1. ชื่อผู้ใช้ (User name)
        2. ชื่อโดเมน Username@domain_name
        การใช้งานอีเมล สามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ
        1. Corporate e-mail คือ อีเมล ที่หน่วยงานต่างๆสร้างขึ้นให้กับพนักงานหรือบุคลากรในองค์กรนั้น เช่น u47202000@dusit.ac.th คือ e-mail ของนักศึกษาของสถาบันราชภัฏสวนดุสิต เป็นต้น
        2. Free e-mail คือ อีเมล ที่สามารถสมัครได้ฟรีตาม web mail ต่างๆ เช่น Hotmail, Yahoo Mail, Thai Mail และ Chaiyo Mail
        3. บริการโอนย้ายไฟล์ (File Transfer Protocol) เป็นบริการที่เกี่ยวข้องกับการโอนย้ายไฟล์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต การโอนย้ายไฟล์สามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ
        1. การดาวน์โหลดไฟล์ (Download File ) การดาวน์โหลดไฟล์ คือ การรับข้อมูลเข้ามายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ในปัจจุบันมีหลายเว็บไซต์ที่จัดให้มีการดาวน์โหลดโปรแกรมได้ฟรีเช่น www.download.com
        2. การอัพโหลดไฟล์ (Upload File) การอัพโหลดไฟล์คือการนำไฟล์ข้อมูลจากเครื่องของผู้ใช้ไปเก็บไว้ในเครื่องที่ให้บริการ (Server) ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เช่น กรณีที่ทำการสร้างเว็บไซต์ จะมีการอัพโหลดไฟล์ไปเก็บไว้ในเครื่องบริการเว็บไซต์ (Web server ) ที่เราขอใช้บริการพื้นที่ (web server) โปรแกรมที่ช่วยในการอัพโหลดไฟล์เช่น FTP Commander
        4 บริการสนทนาบนอินเทอร์เน็ต (Instant Message)
        การสนทนาบนอินเทอร์เน็ตคือ การส่งข้อความถึงกันโดยทันทีทันใด นอกจากนี้ยังสามารถส่งสัญลักษณ์ต่างๆ อาทิ รูปภาพ ไฟล์ข้อมูลได้ด้วย การสนทนาบนอินเทอร์เน็ตเป็นโปรแกรมที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน โปรแกรมประเภทนี้ เช่น โปรแกรม ICQ (I seek you) MSN Messenger, Yahoo Messenger เป็นต้น
        5 บริการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
        1. Web directory คือ การค้นหาโดยการเลือก Directory ที่จัดเตรียมและแยกหมวดหมู่ไว้ให้เรียบร้อยแล้ว website ที่ให้บริการ web directory เช่น www.yahoo.com
        2. Search Engine คือ การค้นหาข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Search โดยการเอาคำที่เราต้องการค้นหาไปเทียบกับเว็บไซต์ต่างๆ ว่ามีเว็บไซต์ใดบ้างที่มีคำที่เราต้องการค้นหา website ที่ให้บริการ search engine เช่น www.yahoo.com, www.google.co.th, www.sansarn.com
        3. Metasearch คือ การค้นหาข้อมูลแบบ Search engine แต่จะทำการส่งคำที่ต้องการไปค้นหาในเว็บไซต์ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลอื่นๆ อีก ถ้าข้อมูลที่ได้มีซ้ำกัน ก็จะแสดงเพียงรายการเดียว เว็บไซต์ที่ให้บริการ Metasearch เช่น www.search.com, www.thaifind.com
        6 บริการกระดานข่าวหรือ เวบบอร์ด (Web board)เว็บบอร์ด เป็นศูนย์กลางในการแสดงความคิดเห็น มีการตั้งกระทู้ ถาม-ตอบ ในหัวข้อที่สนใจ เว็บบอร์ดของไทยที่เป็นที่นิยมและมีคนเข้าไปแสดงความคิดเห็นมากมาย คือ เว็บบอร์ดของพันธ์ทิพย์ (www.pantip.com),www.kapook.com
        7. ห้องสนทนา (Chat Room)ห้องสนทนา คือ การสนทนาออนไลน์อีกประเภทหนึ่ง ที่มีการส่งข้อความสั้นๆ ถึงกัน การเข้าไปสนทนาจำเป็นต้องเข้าไปในเว็บไซต์ที่ให้บริการห้องสนทนาเช่น www.pantip.com

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต