วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

opacและsearch engine

WebOPAC/OPAC

การให้บริการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ   Online Public Access Catalog ( OPAC)
      เป็นเครื่องมือสำหรับช่วยสืบค้นและแสดงรายละเอียด รายการทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด รวมถึงการแจ้งข้อมูลข่าวสารของห้องสมุดให้ผู้ใช้บริการได้รับทราบ

ข้อมูลเบื้องต้นของระบบห้องสมุดอัตโนมัติ  ความเป็นมาของระบบห้องสมุด
    ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST มีจุดกำเนิดมาจากแนวคิดในการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติขึ้นมา ใช้งานเองเพื่อทดแทนระบบห้องสมุดอัตโนมัติ DYNIX (Commercial Software) โดยในปีพ.ศ. 2541 ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ เวอร์ชัน 1.0ได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยใช้โปรแกรม Visual Basic 5.0/6.0 คู่กับระบบจัดการฐานข้อมูล ORACLE ปัจจุบันยังมีการใช้งานที่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี  ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ เวอร์ชัน 2.0 ได้พัฒนาขึ้นโดยใช้โปรแกรม Visual Studio .NET เวอร์ชัน 2002 คู่กับระบบจัดการฐานข้อมูล ORACLE ในเวอร์ชันนี้ได้เริ่มต้นใช้เทคโนโลยี Web Services และได้เปิดตัวการสืบค้น OPAC ผ่านทาง Web Browser ทำให้สามารถเพิ่มความหลากหลายในการให้บริการได้มากยิ่งขึ้น ปัจจุบันมีการใช้งานที่ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, วิทยาเขตตรัง และวิทยาเขตภูเก็ต
       ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ เวอร์ชัน 3.0เป็นเวอร์ชันที่ได้รับการสนับสนุนการพัฒนาจากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา โดยทางสกอ.ได้ก าหนดข้อบังคับการพัฒนา (TOR) เพื่อให้ได้ซอฟต์แวร์ระบบห้องสมุดที่มีมาตรฐานเทียบเท่ากับซอฟต์แวร์จากต่างประเทศ ปัจจุบันใช้งานที่ห้องสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี,มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์,มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และโรงพยาบาลหาดใหญ่ ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ เวอร์ชัน 4.0 เป็นเวอร์ชันที่อยู่ในระหว่างทดสอบการใช้งาน โดยจะปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เป็นระบบห้องสมุดสาขา และเพิ่มขีดความสามารถในด้านการสืบค้นผ่านโปรโตคอล Z39.50 และสนับสนุนการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล Union Catalog

Online Public Access Catalog ( OPAC ) ประกอบด้วย ฟังก์ชันการทำงานหลักดังนี้ 
- แสดงข้อมูลข่าวสารทั่วไปและช่องทางสื่อสารกับห้องสมุด

- สืบค้นรายการทรัพยากรสารสนเทศได้หลายรูปแบบ 
- แสดงข้อมูลรายละเอียดของสมาชิกห้องสมุด
- การต่ออายุการยืม ( Renew ) รายการสารสนเทศ
- การจอง ( Hold ) รายการสารสนเทศ
- การเสนอแนะรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศเพื่อให้ห้องสมุดจัดหา
- การส่งออก (Export) ข้อมูลบรรณานุกรมในรูปแบบต่าง ๆ 
- รายงานสถิติจำนวนทรัพยากรของห้องสมุดและสถิติการสืบค้นต่าง ๆ

การสืบค้นรายการทรัพยากรสารสนเทศ (Search)
ในการสืบค้นข้อมูลผ่านระบบ OPAC สามารถสืบค้นรายการทรัพยากรสารสนเทศแบ่งตามความซับซ้อนได้ 3 รูปแบบคือ                                        

การสืบค้นแบบ Basic search คือ การสืบค้นแบบทั่วไป ผู้ใช้สามารถสืบค้นได้ครั้งละ 1     เขตข้อมูล เช่น ค้นด้วยชื่อเรื่อง(Title) ค้นด้วยชื่อผู้แต่ง(Author) เป็นต้น
2 การสืบค้นแบบ Advanced คือ การสืบค้นแบบขั้นสูง ผู้ใช้สามารถสืบค้นได้พร้อมกันสูงสุดครั้งละสามเขตข้อมูล พร้อมทั้งใช้ตัวเชื่อมทางตรรกะ (AND,OR,NOT)  เช่น ค้นด้วยชื่อเรื่อง(Title)  พร้อมทั้งชื่อผู้แต่ง(Author)  เป็นต้น

3 การสืบค้นแบบ  Other Source เป็นการสืบค้นที่ผู้ใช้สามารถสืบค้นไปยังฐานข้อมูลของห้องสมุดอื่นซึ่งมีการติดตั้ง Z39.50 server  โดยอาศัยการส่งผ่านข้อมูลทางโปรโตคอล Z39.50
4 การสืบค้นโดยใช้ prefix ผู้ใช้สามารถใช้ prefix ที่ระบบได้ก าหนดไว้ โดยในการใช้งานจะระบุ prefix ไว้หน้าคำค้น เช่น ti=computer  หมายถึง ให้ไปสืบค้นค าว่า computer จากเขตข้อมูลชื่อเรื่อง(Title) เป็นต้น
การเข้าใช้งานระบบ (Login)   การเข้าสู่ระบบ มีขั้นตอนดังนี้ 
 <<การยืมต่อทรัพยากรสารสนเทศผ่านทาง OPAC   การจองทรัพยากรสารสนเทศผ่านทาง OPAC >>
 
1. คลิกที่เมนู
Login ด้านบน เพื่อเข้าสู่หน้าจอเข้าสู่ระบบ หรือเข้าไปที่หน้า Login.aspx 

2. ป้อนชื่อผู้ใช้ในช่อง “Username”
3. ป้อนรหัสผ่านในช่อง “Password” 

3. ป้อนรหัสผ่านในช่อง “Password”
 4. คลิกปุ่ม     "เข้าสู่ระบบ"        เพื่อเข้าสู่ระบบ

การสืบค้นแบบ Basic Search มีขั้นตอนดังนี้ 
1. ป้อนคำค้นในช่อง Search โดยการป้อนคำค้นสามารถป้อนได้ดังนี้
1.1 การป้อนคำค้นตามปกติ โปรแกรมสามารถสืบค้นได้จากทุกประเภทการสืบค้น
1.2 การป้อนคำค้นมากกว่า 1 คำ พร้อมด้วยตัวเชื่อม และเครื่องหมาย มีดังนี้ (ใช้สำหรับการสืบค้นประเภท Keyword เท่านั้น)
- AND  หรือช่องว่าง โปรแกรมจะแสดงรายการที่มีคำค้นภายในและอยู่ใน Field เดียวกัน
- OR โปรแกรมจะแสดงรายการที่มีคำค้นตัวใดตัวหนึ่งหรือทั้งคู่
- NOT  โปรแกรมจะแสดงรายการที่มีคำค้นตัวอื่น ๆ ยกเว้นคำค้นหลัง Keyword NOT
- “  ”  โปรแกรมจะแสดงรายการที่มีคำค้นอยู่ติดกันใน field เดียวกัน
-  (  )  ใช้ประกอบกับ Keyword อื่น ๆ เพื่อใช้สืบค้น 

 2. เลือกประเภทการสืบค้น  รูปแบบประเภทการสืบค้นมีให้เลือกดังนี้ 
- Title Keyword  สืบค้นชื่อเรื่อง ที่ปรากฏในตำแหน่งใด ๆ  ตรงกับคำค้น
- Title Alphabetic   สืบค้นชื่อเรื่อง โดยเรียงลำดับอักษร
- Author Keyword   สืบค้นชื่อผู้แต่งที่ปรากฏในตำแหน่งใด ๆ ตรงกับคคำค้น
- Author Alphabetic  สืบค้นชื่อผู้แต่งที่ปรากฏในตำแหน่งใด ๆ ตรงกับคคำค้น
- Subject Keyword   สืบค้นหัวเรื่องที่ปรากฏในตำแหน่งใด ๆ ตรงกับคคำค้น
- Subject Alphabetic   สืบค้นหัวเรื่องที่ปรากฏในตำแหน่งใด ๆ ตรงกับคคำค้น
- Series Keyword   สืบค้นชื่อชุดโดยเรียงลำดับอักษร  
- Series Alphabetic  สืบค้นชื่อชุดที่ปรากฏในต าแหน่งใด ๆ ตรงกับค าค้น
- Journal Title Keyword สืบค้นชื่อวารสารที่ปรากฏในต าแหน่งใด ๆ ตรงกับคำค้น
- Journal Title Alphabetic สืบค้นชื่อวารสารโดยเรียงล าดับอักษร
- LC Call Number   ค้นหาตามเลขเรียกของ Library of Congress
- Local Call Number       ค้นหาตามเลขเรียกของ ห้องสมุดที่ก าหนดขึ้นเอง
- Dewey Call Number    ค้นหาตามเลขเรียกของ Dewey Decimal Classification Number
- NLM Call Number         ค้นหาตามเลขเรียกของ National Library of Medicine Call          
Number
- Bib. Number   ค้นหาตามเลขอ้างอิงของ Bibliographic
- Barcode    สืบค้นข้อมูลที่ตรงกับหมายเลข Barcode ที่ระบุ
- ISBN    ค้นหาตามเลขมาตรฐาน International Standard Book Number
- ISSN    ค้นหาตามเลขมาตรฐาน International Standard Serial Number
- All Fields     ค้นหาโดยไม่ระบุประเภท





2 การสืบค้นแบบ Advanced คือ การสืบค้นแบบขั้นสูง ผู้ใช้สามารถสืบค้นได้พร้อมกันสูงสุดครั้งละสามเขตข้อมูล พร้อมทั้งใช้ตัวเชื่อมทางตรรกะ (AND,OR,NOT)  เช่น ค้นด้วยชื่อเรื่อง(Title)  พร้อมทั้งชื่อผู้แต่ง(Author)  เป็นต้น
การสืบค้นแบบ Advanced Search มีวิธีการสืบค้นเช่นเดียวกับแบบ Basic Search แต่สามารถป้อนค าค้นและเลือก Field ได้มากกว่า 1 ชุดในเวลาเดียวกัน (เลือกได้สูงสุด 3 ชุด), พร้อมกับสามารถ Limit Search ได้เช่นเดียวกัน  ขั้นตอนการสืบค้นแบบ Advanced Search มีดังนี้
1. เลือกประเภทการสืบค้น  วิธีการใช้งานเหมือนกับในส่วน Basic Search
2. ป้อนค าค้นพร้อมเครื่องหมาย  วิธีการใช้งานเหมือนกับใน Basic Search
3. เลือก Limit Search  วิธีการใช้งานเหมือนใน Basic Search
4. กรณีมีเงื่อนไขที่ต้องการค้นหาเพิ่มเติม ให้ป้อนตัวเชื่อมระหว่าง Field  ตัวเชื่อมที่มีให้เลือกคือ NOT, AND, OR (ก าหนดให้ AND เป็นตัวเชื่อมเริ่มต้น) โดยสามารถป้อนได้สูงสุด 2 ชุด
5. การสืบค้นข้อมูลและแสดงผลการสืบค้นจะแสดงผลลัพธ์ในการสืบค้นเช่นเดียวกับการสืบค้นแบบ Keyword


3 การสืบค้นแบบ  Other   Source เป็นการสืบค้นที่ผู้ใช้สามารถสืบค้นไปยังฐานข้อมูลของห้องสมุดอื่นซึ่งมีการติดตั้ง Z39.50 server  โดยอาศัยการส่งผ่านข้อมูลทางโปรโตคอล Z39.50
การสืบค้นแบบ Other Source มีวิธีการสืบค้นเช่นเดียวกับแบบ Advance Search  แต่สามารถเลือกได้ว่าต้องการสืบค้นไปยังฐานข้อมูลของห้องสมุดใดที่เปิดให้บริการ  ขั้นตอนการสืบค้นแบบ Other Source มีดังนี้
1. เลือกประเภทการสืบค้น  วิธีการใช้งานเหมือนกับในส่วน Basic Search และ Advance Search
2. ป้อนค าค้นพร้อมเครื่องหมาย  วิธีการใช้งานเหมือนกับใน Basic Search และ Advance Search
3.กรณีมีเงื่อนไขที่ต้องการค้นหาเพิ่มเติม ให้ป้อนตัวเชื่อมระหว่าง Field  ตัวเชื่อมที่มีให้เลือกคือ NOT, AND, OR (ก าหนดให้ AND เป็นตัวเชื่อมเริ่มต้น) โดยสามารถป้อนได้สูงสุด 2 ชุด
4. กรณีต้องการ Limit Search เลือก Limit Search  โดยมีวิธีการใช้งานเหมือนใน Basic Search และ Advance Search
5. เลือกใส่เครื่องหมายถูก   หน้าชื่อมหาวิทยาลัยที่ต้องการสืบค้นข้อมูล โดยสามารถเลือกได้มากกว่า 1 ฐานข้อมูล
6. กดปุ่ม Search เพื่อสืบค้นข้อมูล

4 การสืบค้นโดยใช้ prefix ผู้ใช้สามารถใช้ prefix ที่ระบบได้ก าหนดไว้ โดยในการใช้งานจะระบุ prefix ไว้หน้าค าค้น เช่น ti=computer  หมายถึง ให้ไปสืบค้นค าว่า computer จากเขตข้อมูลชื่อเรื่อง(Title) เป็นต้น
การสืบค้นแบบ Prefix เป็นการสืบค้นโดยที่ผู้ใช้ไม่จ าเป็นต้องเลือกประเภทการค้นจากตัวเลือกที่มีให้ แต่สามารถระบุเป็น prefix ไว้หน้าค าค้นได้เลย   Prefix ที่มีให้ใช้งาน ได้แก่
- au: เป็นการสืบค้นแบบ Author Alphabetic
- ti: เป็นการสืบค้นแบบ Title Alphabetic
- su: เป็นการสืบค้นแบบ Subject Alphabetic
- se: เป็นการสืบค้นแบบ Series Alphabetic
- dc: เป็นการสืบค้นแบบตาม Dewey Callno
- lc: เป็นการสืบค้นแบบตาม LC Callno
- nc: เป็นการสืบค้นตาม NLM Callno
- loc: เป็นการสืบค้นตาม Local Callno
- bn: เป็นการสืบค้นตาม ISBN
- sn: เป็นการสืบค้นตาม ISSN
- au= เป็นการสืบค้นแบบ Author Keyword
- ti= เป็นการสืบค้นแบบ Title Keyword
- su= เป็นการสืบค้นแบบ Subject Keyword
- se= เป็นการสืบค้นแบบ Series Keyword
- bib= เป็นการสืบค้นตามหมายเลขบรรณานุกรม
- all= เป็นการสืบค้นแบบ All Fields
ในการสืบค้นด้วย Prefix สามารถใช้ร่วมกับตัวด าเนินการทางตรรกะได้ (AND, OR, NOT)


search engine

เสิร์ชเอนจิน (search engine) คือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย. เสิร์ชเอนจินส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา ในปัจจุบัน เสิร์ชเอนจินบางตัว เช่น กูเกิล จะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ๆ ไป
สัดส่วนของผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกา (ข้อมูลจาก นิตยสารฟอรบส์ ฉบับวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2548)
1. กูเกิล (Google) 36.9%
2. ยาฮูเสิร์ช (Yahoo! Search) 30.4%
3. เอ็มเอสเอ็นเสิร์ช (MSN Search) 15.7%



นอกจากด้านบน เว็บอื่น ๆ ที่เป็นที่นิยมได้แก่
- เอโอแอล (AOL Search)
- อาส์ก (Ask)
- เอ 9 (A9)
- ไป่ตู้ (Baidu, 百度) เสิร์ชเอนจิน อันดับ 1 ของประเทศจีน

Search Engine คืออะไร


Google.com เป็น Search Engine ตัวหนึ่ง (หรือจะเรียก ที่หนึ่ง ก็ได้) ซึ่งหากเราเราจะเรียกแบบบ้าน ๆ ตามประสาคนท่องเว็บแล้ว Search Engine ก็คือ เครื่องมือในการค้นหาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตนั่นเอง นอกจาก Google แล้วยังมี Search Engine อีกหลาย ๆ ที่ ซึ่งดัง ๆ ที่เราพอจะคุ้นตาคุ้นหูอยู่บ้างก็อาทิเช่น Yahoo MSN เป็นต้น (ขอแนะนำที่ดัง ๆ เป็นพอ ไม่ดังไม่สน)
 ซึ่งในปัจจุบันหากให้เดาเพื่อน ๆ คงจะพอเดาถูกว่า Search Engine ที่ดังที่สุด (มีคนใช้เยอะสุด ๆ) ก็คือ Search Engine พระเอกที่ชื่อว่า Google.com นั่นเอง ซึ่งเป็น Search Engine ที่มีคนใช้เยอะมาก ๆ ทั้ง ๆ ที่มีให้บริการมาไม่กี่ปีนี่เอง เปิดบริการมาไม่นานก็แซงหน้าขาใหญ่เดิมอย่าง Yahoo ไปชนิดที่เรียกว่ามองแทบไม่เห็นฝุ่น ก็เพราะว่าด้วยรูปแบบที่ใช้งานง่าย และรวดเร็วนั่นเอง แถมเป็นภาษาไทยด้วย ยิ่งถูกใจคนไทยเป็นอย่างยิ่ง 

ซึ่งปรากฏการ google ฟรีเว่อร์นี้เอง ที่ทำให้คนส่วนหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็น Webmaster หันมาทำ SEO เจาะที่ Search Engine ที่มีชื่อว่า Google กันอย่างถล่มทะลาย

พูดไปเรื่องของ SEO แต่ล่ะที่ ที่ดัง ๆ ไปแล้ว เราก็มารู้เรื่องเกี่ยวกับประเภทของ Search Engine กันซักหน่อย ซึ่ง Search Engine ก็มีอยู่หลาย ๆ ประเภท ดังนี้

1. แบบอาศัยการเก็บข้อมูลเป็นหลัก (Crawler-Based Search Engine)
หลักการนี้เป็นการใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Crawler-Based Search Engine เป็นเครื่องมือที่ทำการบันทึกและเก็บข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งเป็นประเภท Search Engine ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน
ซึ่งการทำงานประเภทนี้ จะใช้โปรแกรมตัวเล็ก ๆ ที่เรียกว่า Web Crawler หรือ Spider หรือที่เรียกอีกอย่างว่า Search Engine Robots หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า บอท ในภาษาไทย www คือเครือข่ายใยแมงมุม ตัวโปรแกรมเล็ก ๆ ตัวนี้ก็คือแมงมุมนั่นเอง โดยเจ้าแมงมุมตัวนี้จะทำการไต่ไปยังเว็บไซต์ต่าง ๆ ทั่วโลกอินเตอร์เน็ต โดยอาศัยไต่ไปตาม URL ต่าง ๆ ที่มีการเชื่อมโยงอยู่ในแต่ละเพจ แล้วทำการ Spider กวาดข้อมูลที่จำเป็นต่าง ๆ (ขึ้นอยู่กะ Search Engine แต่ละที่ว่าต้องการเก็บรวบรวมข้อมูลอะไรบ้าง) แล้วเก็บลงฐานข้อมูล การใช้โปรแกรมกวาดข้อมูลแบบนี้ จึงทำให้ข้อมูลที่ได้มีความแม่นยำ และสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้เร็วมาก Search Engine ที่เป็นประเภทนี้ เช่น Google Yahoo MSN

2. แบบสารบัญเว็บไซต์ (Web Directory)Search Engine ที่เป็นแบบนี้มีอยู่หลายเว็บไซต์มาก ๆ ที่ดังที่สุดในเมืองไทย ที่เอ่ยออกไปใครใครคงต้องรู้จัก นั้นก็คือที่สารบัญเว็บของ Sanook.com ซึ่งหลาย ๆ คนคงเคยเข้าไปใช้บริการ หรืออย่างที่ Truehits.com เป็นต้น

ส่งที่เราจะสังเกตเห็นจาก Search Engine ประเภทนี้ก็คือ ลักษณะของการจัดเก็บข้อมูลที่แสดงให้เราเห็นทั้งหมด ว่ามีเว็บอะไรบ้างอยู่ในฐานข้อมูล ซึ่งแตกต่างจากประเภทแรก ที่หากคุณไม่ค้นหาโดยใช้คำค้น หรือ Keyword แล้ว คุณจะมีทางทราบเลยว่ามีเว็บไซต์อะไรอยู่บ้าง และมีเว็บอยู่เท่าไหร่

แบบสารบัญเว็บไซต์ จะแสดงข้อมูลที่รวบรวมเว็บไซต์ที่มีทั้งหมดในฐานข้อมูล และจะแบ่งเป็นหมวดหมู่ และอาจจะมีหมวดหมู่ย่อย ซึ่งผู้ค้นหาข้อมูลสามารถคลิกเข้าไปดูได้

หลักการทำงานแบบนี้ จะอาศัยการเพิ่มข้อมูลจากเจ้าของเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ต้องการประชาสัมพันธ์เว็บ หรืออาจใช้เจ้าหน้าที่ที่ดูแลส่วน Search Engine เป็นผู้หาข้อมูลเว็บไซต์มาเพิ่มในฐานข้อมูล ซึ่งข้อมูลในส่วนของสารบัญเว็บไซต์จะเน้นในด้านความถูกต้องของฐานข้อมูล ซึ่งข้อมูลเว็บไซต์ที่ถูกเพิ่มเข้ามาจะถูกตรวจสอบและแก้ไขจากผู้ดูแล


3. แบบอ้างอิงในคำสั่ง Meta Tag (Meta Search Engine )Search Engine ประเภทนี้จะอาศัยข้อมูลใน Meta tag (อยากรู้ดูในบทความหน้า) ซึ่งเป็นส่วนของข้อมูลที่อยู่ในแท็ก HEAD ของภาษา HTML ซึ่งข้อมูลในส่วนนี้ จะเป็นส่วนที่ให้ข้อมูลกับ Search Engine Robots

Search Engine ประเภทนี้ไม่มีฐานข้อมูลของตนเอง แต่จะอาศัยข้อมูลจาก Search Engine Index Server ของที่อื่น ๆ ซึ่งข้อมูลจะมาจาก Server หลาย ๆ ที่ ดังนั้น จึงมักได้ผลลัพธ์จากการค้นหาที่ไม่แม่นยำ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น